533 จำนวนผู้เข้าชม |
หลักสูตร การสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพ
(Quality Awareness)
วิทยากร: อาจารย์ณรงค์ ตู้ทอง
ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญ (LEAN (Supply Chain, Manufacturing, Logistics)
TPM,TQM, QCC , 5S , Kaizen ,Suggestion), ผู้เชี่ยวชาญด้านการบำรุงรักษา
และการขับขี่รถยกอุตสาหกรรม (Forklift), ได้รับการรับรองสมรรถนะร่วมที่ปรึกษาอุตสาหกรรม
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, ได้รับการรับรองเป็นผู้ช่วยผู้ชำนาญ
การตรวจสอบการจัดการพลังงาน กระทรวงพลังงาน รวมประสบการณ์กว่า 25 ปี
PRINCIPLES
การแข่งขันทางธุรกิจในยุคปัจจุบันให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้า และบริการ เนื่องจากเป็นส่วนที่มีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าที่จะกลับมาซื้อหริอใช้บริการซ้ำ หรือเปลี่ยนใจไปใช้สินค้าหรือบริการของคู่แข่งขันอื่นแทน ซึ่งการพัฒนาบุคลากรให้มีจิตสำนึกแห่งคุณภาพในการทำงานมีต้นทุนในการพัฒนาที่ต่ำกว่ากลยุทธ์อื่น และยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนต่อองค์กรอย่างแท้จริง ดังนั้น การสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพต้องทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของงานที่รับผิดชอบ โดยมองเห็นคุณค่าและประโยชน์ต่าง ๆ ที่พนักงานและผู้อื่นจะได้รับจากงานนี้ ทำให้เกิดความรับผิดชอบต่องานและมุ่งมั่นที่จะให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด
OBJECTIVES
1. มีความรู้ ความเข้าใจแนวคิดและความหมายของคำว่า “คุณภาพ” และเข้าใจวิวัฒนาการด้านคุณภาพ
2. เป็นการปลูกจิตสำนึกด้านคุณภาพให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรม ให้คำนึงถึงคุณภาพในการดำเนินงาน
3. เพื่อให้ทราบถึงวิธีทำให้ลูกค้าพอใจสูงสุด
AREAS OF STUDY
> วิกฤตที่นำไปสู่วิวัฒนาการของคุณภาพ
> นิยามของ “คุณภาพ” และ “คุณภาพโดยรวม”
> กลยุทธ์เพื่อสร้างความตระหนักในคุณภาพให้กับพนักงาน
> การสร้างความพอใจต่อลูกค้า
> Workshop
> แนวคิดการบริหารคุณภาพเพื่อสร้างความพอใจให้กับลูกค้า
> การสร้างจิตสำนึกในด้านคุณภาพเพื่อการปรับปรุงองค์กร
> การแก้ปัญหาคุณภาพโดยใช้หลักการทางสถิติ
> Workshop
> สรุป ถาม – ตอบข้อซักถาม และทดสอบ/ประเมินผล
จำนวนและคุณสมบัติผู้เข้ารับการฝึกอบรม : ผู้จัดการ และผู้บริหาร ทุกระดับ, หัวหน้างาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง
ระยะเวลาการฝึกอบรม : 1 วัน (เวลา 09.00 – 16.00 น.)
รูปแบบการบรรยาย : ใช้เทคนิคการบรรยายในลักษณะบูรณาการ มุ่งผู้เข้ารับการอบรมเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ใช้กิจกรรมเป็นสื่อของการเรียนรู้ และใช้เทคนิคการอภิปราย การระดมสมอง เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและมุมมอง เป็นการพัฒนาซึ่งกันและกัน สลับกับการบรรยาย
หมายเหตุ หัวข้อที่เสนอสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้าหรือตามความคิดเห็นของวิทยากร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.086-318-3151-2