Last updated: 28 มี.ค. 2566 | 366 จำนวนผู้เข้าชม |
หลักสูตร การไคเซ็นกับการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
(Kaizen for Continuous Improvement)
วิทยากร: อาจารย์ณรงค์ ตู้ทอง
ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญ (LEAN (Supply Chain, Manufacturing, Logistics)
TPM,TQM, QCC , 5S , Kaizen ,Suggestion), ผู้เชี่ยวชาญด้านการบำรุงรักษา
และการขับขี่รถยกอุตสาหกรรม (Forklift), ได้รับการรับรองสมรรถนะร่วมที่ปรึกษาอุตสาหกรรม
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, ได้รับการรับรองเป็นผู้ช่วยผู้ชำนาญ
การตรวจสอบการจัดการพลังงาน กระทรวงพลังงาน รวมประสบการณ์กว่า 25 ปี
PRINCIPLES
การสร้างวัฒนธรรมในองค์กร ในเรื่องของการเพิ่มผลผลิต เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดความไม่ปลอดภัย และการทำงานที่ใช้เวลาเท่าเดิมแต่ได้ผลผลิตมากขึ้น ด้วยการใช้เครื่องมือง่ายๆ ของกิจกรรมไคเซ็น (Kaizen) ก็เพื่อให้พนักงานทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมและเกิดจิตสำนึกรักองค์กร รวมถึงช่วยกันปรับปรุงวิธีการทำงาน เพื่อให้สะดวกขึ้น ง่ายขึ้น มีของเสียที่ลดลง ทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นที่ง่ายที่สุดของการเพิ่มผลผลิต เพื่อต่อยอดไปสู่กิจกรรมอื่นๆ ที่ช่วยส่งเสริมในเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตต่อไปในอนาคต
การดำเนินกิจกรรมข้อเสนอแนะ และกิจกรรมไคเซ็น (Kaizen) โดยหลักสูตรนี้จะสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรม ไคเซ็น และเพื่อให้เกิดคณะกรรมการดำเนินงาน ที่จะเข้าใจแนวคิด ในการดำเนินกิจกรรมของ ไคเซ็น ที่มีประสิทธิภาพ โดยการจัดตั้งคณะทำงาน การติดตาม การดำเนินงาน และเรียนรู้วิธีการปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานไคเซ็น เพื่อช่วยชี้แนะให้กับพนักงาน ได้ด้วยเครื่องมือต่างๆเช่น PDCA, QC7 Tools, 5S ฯลฯ ดังนั้นหากองค์กรได้มีการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานไคเซ็นอย่างจริงจังและสามารถผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานผ่านการเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างได้อย่างต่อเนื่องแล้วก็จะเกิดการสร้างวัฒนธรรมไคเซ็นในองค์กรได้อย่างยั่งยืน
OBJECTIVES
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจ ถึงแนวคิดและความเป็นมาของกิจกรรม ไคเซ็น
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมไคเซ็นในการปรับปรุงงาน
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดการพัฒนาและสามารถชี้แนะกระบวนการทำงานของพนักงานได้อย่างถูกวิธี และทราบถึงอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง
AREAS OF STUDY
1. ไคเซ็นคืออะไร
2. หลักการและข้อเสนอแนะเบื้องต้นของไคเซ็นในการปรับปรุงงาน
3. หัวใจสำคัญ และประโยชน์ของการไคเซ็นเพื่อการปรับปรุง
4. ปัญหา และอุปสรรค์ของการดำเนินกิจกรรมไคเซ็น
5. การค้นหา ประเมิน และคัดเลือกหัวเรื่องกิจกรรมไคเซ็น
6. การค้นหาประเด็นปัญหา และสาเหตุ
7. หลักการวิธีการเขียนข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงไคเซ็น
8. ตัวอย่างของใบกิจกรรมข้อเสนอแนะที่ดีและไม่ดี
9. การส่งเสริมให้พนักงานให้สามารถคิดค้นปรับปรุงจากงานที่ปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
10. การดำเนินกิจกรรมไคเซ็นอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน
11. เครื่องมือช่วยในการดำเนินกิจกรรมไคเซ็น 5ส. 7QC Tools 5 Why Analysis
12. ผังก้างปลา (Fishbone) ECRS Mind Mapping
13. ตัวอย่างข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง /ตอบข้อซักถาม
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจทั่วไป
รูปแบบการอบรมสัมมนา
1. การบรรยาย 30 %
2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 60%
3. กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์ 10 %
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการอบรม
1. พนักงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานไคเซ็นอย่างถูกต้องชัดเจน
2. สามารถดำเนินกิจกกรมไคเซ็น ภายในองค์กรได้อย่างยั่งยืน
3. สามารถนำไคเซ็นไปประยุกต์ใช้และขยายผลภายในองค์กรต่อไป
4. พนักงานสามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการปรับปรุงเช่นPCDA, 5S, QC7Tools ฯลฯ ร่วมกับ
กิจกรรมหรือโครงการปรับปรุงต่างๆได้อย่างเหมาะสม
คุณสมบัติผู้เข้ารับการฝึกอบรม : ผู้จัดการ และผู้บริหาร ทุกระดับ, หัวหน้างาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง
ระยะเวลาการฝึกอบรม : 1 วัน (เวลา 09.00 – 16.00 น.)
รูปแบบการบรรยาย : ใช้เทคนิคการบรรยายในลักษณะบูรณาการ มุ่งผู้เข้ารับการอบรมเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ใช้กิจกรรมเป็นสื่อของการเรียนรู้ และใช้เทคนิคการอภิปราย การระดมสมอง เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและมุมมอง เป็นการพัฒนาซึ่งกันและกัน สลับกับการบรรยาย
หมายเหตุ หัวข้อที่เสนอสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้าหรือตามความคิดเห็นของวิทยากร
12 เม.ย 2564
12 เม.ย 2564
9 เม.ย 2564
4 พ.ค. 2566