585 จำนวนผู้เข้าชม |
การสร้างแรงจูงใจและให้คำปรึกษาสำหรับหัวหน้างาน
วิทยากร : อาจารย์อุดมเดช บูรพ์ภาค
หลักการและเหตุผล :
หัวหน้างานคือผู้บริหาร คือผู้ที่ทำงานให้สำเร็จโดยผ่านหรือจากความร่วมมือกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ใต้บังคับบัญชา ถ้าจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือผลงานของหัวหน้า คือผลงานรวมของลูกน้องรวมกัน ถ้าในเหตุการณ์ปกติ การดำเนินงานโดยทั่วไปก็อยู่ในสถานการณ์ราบรื่น แต่สภาพความเป็นจริงนั้นลูกน้องแต่ละคน อาจประสบปัญหาต่างๆ อาทิ เช่น ปัญหาจากการทำงาน การขาดทักษะ ในการทำงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน บรรยากาศในการทำงาน ปัญหาทางด้านครอบครัว ปัญหาทางสุขภาพ ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อการทำงาน ทำให้ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ของการทำงานลดต่ำลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าของหน่วยงานโดยส่วนรวม
หัวหน้าส่วนส่วนใหญ่มักคิดว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องส่วนตัว เป็นปัญหาชีวิตของพนักงานแต่ละคนที่จะดำเนินการแก้ไขกันเอง วางตนไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว หรือบางคนก็อยากเข้าไปช่วย แต่ไม่รู้จักเทคนิคศิลปะการให้คำปรึกษาที่ถูกต้อง ไม่เข้าใจแนวคิด ปรัชญา หลักการ ความรู้ และขั้นตอนของการให้คำปรึกษาที่ดี
หลักสูตรนี้จึงได้จัดขึ้นมาเพื่อให้หัวหน้างานตระนักว่า การให้คำปรึกษาเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นหน้าที่ของหัวหน้างานทุกคนต้องทำ ถ้าหัวหน้ามีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการให้คำปรึกษาที่ดี ส่งผลโดยรวมทำให้งานของหัวหน้างานดีขึ้น ในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล และส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าต่อองค์การทำให้มีความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์
1. ได้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน การพัฒนาหัวหน้างาน ให้มีภาวะผู้นำ
2. ได้มีความตระหนักและยอมรับหน้าที่ในการให้คำปรึกษาว่าเป็นภาระและหน้าที่ที่สำคัญ
ของหัวหน้างาน
3. ได้มีความรู้และทักษะ เกี่ยวกับศิลปะการให้คำปรึกษาที่ถูกต้อง
4. ทำให้ผลงานของลูกน้อง ผู้ใต้บังคับบัญชามีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ส่งผลต่อความเจริญก้าวหน้าของหน่วยงาน
5. บรรยากาศด้านแรงงานสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง เป็นไปในทางที่ดี มีบรรยากาศ ในการทำงานในลักษณะร่วมมือร่วมใจ ร่วมแก้ไขปัญหาร่วมฟันฝ่าอุปสรรค ทำให้องค์การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
หัวข้อการสัมมนา
1. บทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน
2. การพัฒนาหัวหน้างานให้มีภาวะผู้นำ
3. การสร้างภาวะผู้นำโดยกระบวนการให้ปรึกษา
4. ความแตกต่างของการให้คำปรึกษากับการพัฒนาและฝึกอบรม
5. ความหมายความสำคัญ และประโยชน์ของการให้คำปรึกษา
- สาเหตุที่คนต้องการรับการปรึกษา
- การให้การปรึกษที่ถูกต้อง ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างไร
- ทำไมการให้คำปรึกษาจึงจำเป็นสำหรับหัวหน้างาน
6. คุณสมบัติที่ดีของผู้ให้คำปรึกษา
- คุณสมบัติภายในที่เป็นนามธรรม
- บุคลิภาพของผู้ให้คำปรึกษา
- ข้อควรระวังสำหรับผู้ให้คำปรึกษา
7. การเตรียมการในการให้คำปรึกษา
8. กระบวนการและขั้นตอนในการให้คำปรึกษา
9. ปัจจัยที่ทำให้การให้คำปรึกษาสัมฤทฺธิ์ผล
10. สรุป
หมายเหตุ: หัวข้อที่เสนอสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้าหรือตามความเห็นของวิทยากร
การติดต่อ: 02-615-4689, dsmarttraining@gmail.com, www.dsmarttraining.com