หลักสูตร การแก้ปัญหาการตัดสินใจและการจัดการความขัดแย้งในการทำงาน_อ.พลกฤต

568 จำนวนผู้เข้าชม  | 


หลักสูตร การแก้ปัญหาการตัดสินใจและการจัดการความขัดแย้งในการทำงาน
(Problem solving, Decision making and conflict management in the workplace)

วิทยากร : อาจารย์พลกฤต โสลาพากุล


หลักการและเหตุผล (Introduction)
                ปัญหา (Problem) คือ สถานการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้นจากภายในหน่วยงาน เช่น ปัญหาจากกระบวนการทำงาน ปัญหาจากคน ทุกๆปัญหานั้นย่อมส่งผลกระทบโดยตรงในการผลิตสินค้าหรือการบริการ แน่นอนในเมื่อเกิดปัญหาขึ้นสิ่งที่ตามมาคือ ต้นทุนที่สูงขึ้น (Cost)  ผู้ที่มีหน้ารับผิดชอบโดยตรงคงหนีไม่พ้น พนักงานหน้างาน (Operators) และหัวน้างานในแต่ละแผนก(Leader) เพราะคนสองกลุ่มนี้จะเข้าใจในปัญหาหาของงานได้ดีที่สุด
                ทั้งนี้ในการแก้ไขปัญหาและลดความขัดแย้งในการทำงานจะต้องค้นหาสาเหตุของปัญหาโดยผ่านกระบวนการคิดหาสาเหตุ (Idea finding) การวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา (Root Cause Analysis (RCA) ที่มาของปัญหาต่างๆ จากสภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environment) สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment) พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไขปัญหา (Solution finding) เพื่อแก้ไขปัญหาของอย่างเป็นระบบเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยยึดเป้าหมายขององค์กรเป็นสำคัญ

วัตถุประสงค์ (Objective)
      1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจในสภาวะที่ต้องเผชิญกับปัญหา และนำปัญหาไปผ่านกระบวนการคิดในเชิงบวก เพื่อจัดการกับปัญหาและลดความขัดแย้งอย่างเป็นระบบ
      2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่นในการทำงานร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการทำงา
      3. เพื่อนำเครื่องมือต่างๆไปประยุกต์ใช้ในการจัดการลดความขัดแย้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

เนื้อหาการบรรยาย (Key Contents)
Module 1: การแก้ปัญหาการตัดสินใจ
      - ปัญหาคืออะไร
      - ประเภทของปัญหา
      - ใครมีหน้าที่ในการแก้ไขปัญหา?
      - การเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพปัจจุบันของงาน
      - การให้ความสำคัญกับหน้างาน 3 Gen (GENBA,GENBUTSU,GENJISU)
      - ประเภทเครื่องมือ เช่น 5W1H, Why-Why analysis, Work flow analysis,7 QC tools
      - Workshop การวิเคราะห์ปัญหา และการตัดสินใจ
Module 2: การจัดการความขัดแย้งในการทำงาน
      - ความหมายของความขัดแย้ง
      - ความหมายธรรมชาติเรื่องจริงของมนุษย์ที่ควรทราบ
      - รูปแบบของพฤติกรรมความขัดแย้ง (Conflict reaction styles)
      - บทบาทของผู้นำต่อปัญหาความขัดแย้ง
      - เทคนิคการบริหารความขัดแย้ง
      - การใช้กระบวนการแทรกแซง (Intervention) เพื่อลดความขัดแย้ง
      - Workshop กลยุทธ์วิธีแก้ไขความขัดแย้ง (งานกลุ่ม พร้อมอภิปราย)

หมายเหตุ: หัวข้อที่เสนอสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้าหรือตามความเห็นของวิทยากร

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้