หลักสูตร การทำงานเชิงรุกและพัฒนาศักยภาพเพื่อบรรลุเป้าหมาย_อ.พลกฤต

465 จำนวนผู้เข้าชม  | 

 

หลักสูตร การทำงานเชิงรุกและพัฒนาศักยภาพเพื่อบรรลุเป้าหมาย

วิทยากร : อาจารย์พลกฤต โสลาพากุล


หลักการและเหตุผล (Introduction)
        ในยุค 4.0 เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี หลายองค์กรนำมาใช้ในการผลิตหรือบริการเป็นจำนวนมากขึ้น บทบาทของคนจะถูกลดจำนวนลง หากตัวเราไม่มีการปรับตัวปรับเปลี่ยนเพื่อการทำงานโดยการสร้างแนวคิดการทำงานเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ หมายความว่า หากงานที่มีปัญหา หรือพบเหตุการณ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน หากสามารถคิดวิเคราะห์หาคนทางแก้ไขและวิธีการทำงานใหม่ๆเพื่อตอบสนองกับสิ่งเหล่านั้นได้จะทำให้ตัวเราสามารถมีมูลค่าเพิ่มในด้านศักยภาพการทำงานและยกระดับฝีมือที่สามารถแข่งขันได้ และตอบโจทย์ตามเป้าประสงค์ขององค์การได้
         หลักสูตร การทำงานเชิงรุกและพัฒนาศักยภาพเพื่อบรรลุเป้าหมาย เน้นกระบวนการคิด และพัฒนาคนให้สามารถทำงานในสถานการณ์การต่างๆได้ และเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงานได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์  (Objective )
     1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการทำงานเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ
     2. เพื่อเสริมสร้างการนำเครื่องมือและเทคนิคของแต่ละเครื่องมือมาใช้งานในกิจกรรมการพัฒนาความยั่งยืนให้กับองค์กรได้อย่างยั่งยืน
     3. เพื่อเพิ่มศักยภาพของพนักงานให้สามารถมีการแข่งขันกับองค์กรอื่นได้

เนื้อหาการบรรยาย (Key Contents)
     1. กรอบแนวคิดในการพัฒนาความยั่งยืนขององค์กร
     2. กรอบแนวคิดการปรับปรุงและพัฒนางานสู่ความสำเร็จ
         - สาเหตุของการปรับปรุงงานมาจากอะไร?
         - ทำไมถึงต้องปรับปรุง
         - การวางเป้าหมายของงาน
         - การพัฒนาต่อยอดสู่ความสำเร็จของงานต้องทำอะไร?
     3. จุดเริ่มต้นความสำเร็จของงาน
         - ความคิด พฤติกรรมคนทำงาน
         - การเรียนรู้บทบาทหน้าที่ของตน
         - การพัฒนาคนเองสู่ความสำเร็จของงาน
         - การสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพ
     4. การค้นหาสาเหตุจากงานที่ทำเพื่อสู่การปรับปรุงงาน
         - การค้นหาสาเหตุปัญหาของงานตามหลัก 4 M
         - การคัดเลือกปัญหาของงานโดยใช้ 5W1H
         - วิธีการแก้ไขปัญหาของงาน
     5. การใช้เครื่องมือ The Fifth Discipline (วินัย 5 ประการ) เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของงาน
         - การเพิ่มศักยภาพของตนเอง (Personal mastery)
         - การมุ่งสะท้อนความคิด (Mental models)
         - การมีส่วนร่วมทางความคิด (Share vision)
         - การทำงานร่วมกัน (Team learning)
         - การคิดอย่างเป็นระบบ (System thinking
     6. การนำไปปฏิบัติ (Implement)
         - การสร้างเครื่องมือในการติดตามและประเมินผลโดย Balance Score Card (BSC)
      7. การบริหารจัดการแบบยั่งยืน Management Road map กับกิจกรรม
      8. ถาม-ตอบ สรุปการเรียนรู้

หมายเหตุ: หัวข้อที่เสนอสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้าหรือตามความเห็นของวิทยากร

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้