810 จำนวนผู้เข้าชม |
การจัดทำตัวชี้วัดผลสำเร็จของงาน (KPI)
“ชี้วัดให้เกิดผลลัพธ์ บรรลุให้เป็นไปตามเป้าประสงค์”
วิทยากร: อาจารย์ไพรัช วนัสบดีไพศาล
หลักการและเหตุผล
ในการที่เราจะผลักดันให้การบริหารคนและงานในองค์กรเกิดประสิทธิภาพที่สูงขึ้น เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ หนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยเราให้ประสบผลสำเร็จได้ก็คือ การใช้ตัวชี้วัด (Key Performance Indicator) ซึ่งตัวชี้วัดจะช่วยให้เรามองเห็นศักยภาพในแต่ละจุด แต่ละระดับ แต่ละคน แต่ละเนื้องาน รวมไปถึงการมองเห็นช่องโหว่ต่างๆในการบริหารคนและงานนั้นๆ แปลค่าออกมาเป็นตัวเลขที่ช่วยให้เข้าใจได้ง่ายถึงระดับของประสิทธิภาพในแต่ละจุด และยังสามารถช่วยให้เรานำค่าตัวเลขที่ได้มาวิเคราะห์หาเกณฑ์เพื่อใช้ยกระดับคนและงานให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ตัวชี้วัดยังช่วยในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงการบริหารคนและงานแบบเดิมๆให้เป็นการบริหารแบบใหม่ที่เหมาะสมสอดคล้องกับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง ยังผลให้องค์กรสามารถเจริญเติบโตท่ามกลางโลกของการแข่งขันที่สูงเพิ่มขึ้นอยู่ตลอด
ดังนั้น การใช้ตัวชี้วัดในการบริหารคนและงานในองค์กร จึงเป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินผลสำเร็จของการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้น และช่วยวิเคราะห์ในการนำกลยุทธ์มาใช้ปรับเพิ่มประสิทธิภาพของคนและงานที่ต้องการให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นการวัดผลงานของแผนก การวัดผลงานของโครงการ การวัดผลงานของการบริหารงานองค์รวม การวัดผลงานของบุคลากรในองค์กร ตัวชี้วัดยังให้เนื้องานที่ต้องการวัดผลต่างๆสามารถลดจุดสูญเสียลงไม่ให้สูญเปล่าไปได้อีกด้วย
ผู้เข้ารับการอบรมทุกระดับที่สนใจความรู้และแนวคิดในการจัดทำตัวชี้วัด จะได้เรียนรู้วิธีคิดการบริหารและเทคนิควิธีการในการจัดทำตัวชี้วัดให้เกิดประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผลสูงสุด ช่วยพัฒนาศักยภาพและยกระดับคนและงานในองค์กรให้สูงขึ้น ทั้งยังช่วยให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้อย่างมีระบบและมีกลยุทธ์ “ชี้วัดให้เกิดผลลัพธ์ บรรลุให้เป็นไปตามเป้าประสงค์”
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำตัวชี้วัด
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบแนวทางในการนำตัวชี้วัดไปใช้ในการวัดผลสำเร็จของงาน
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบแนวทางในการนำตัวชี้วัดไปใช้ให้สอดคล้องในแต่ละการปฏิบัติงาน
4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำตัวชี้วัดไปใช้ปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าประสงค์
หัวข้อการบรรยายและ Workshop
1. เรียนรู้ระบบวิธีคิดการบริหาร
2. ปัจจัยต่างๆในการจัดทำตัวชี้วัด
3. เรียนรู้ลำดับชั้นในการบริหารงานองค์กร
4. กลยุทธ์การบริหารงานให้เกิดประสิทธิภาพ
5. การบริหารประสิทธิภาพการทำงาน
6. ประโยชน์ของตัวชี้วัด
7. การเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยตัวชี้วัด
8. ระดับของตัวชี้วัด
9. ลักษณะตัวชี้วัด
10. ประเภทของตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
11. การกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
12. การลดจุดสูญเสียและเพิ่มจุดประสิทธิภาพ
13. ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัด
14. ตัวอย่างการจัดทำตัวชี้วัด
15. กรณีศึกษาจากประสบการณ์ตรงของวิทยากร
16. Workshop แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ
a. ให้โจทย์เกี่ยวกับการจัดทำตัวชี้วัด
b. วิเคราะห์อย่างละเอียดถึงตัวชี้วัดที่จัดทำ
c. ผู้เข้ารับการอบรมและวิทยากร ร่วมกันวิเคราะห์ความสำเร็จของแต่ละกลุ่มที่นำเสนอ
d. วิทยากรให้ผลลัพธ์ที่ได้ของเวิร์กช็อบนี้
17. สรุปเนื้อหาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ด้วยการวิเคราะห์จากผู้เข้ารับการอบรม
18. ข้อคิดฝากให้กับผู้เข้ารับการอบรม เพื่อนำกลับไปฝึกปฏิบัติให้เกิดการพัฒนาที่ดียิ่งขึ้น
หมายเหตุ หัวข้อที่เสนอสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้าหรือตามความคิดเห็นของวิทยากร
การติดต่อ: 02-615-4499, 0-2615-4477-8 hipotraining@hotmail.com, www.hipotraining.co.th